วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานจากการระดมสมอง

นวัตกรรมการศึกษา
ความหมายนวัตกรรม
คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528)
ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ
ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง

Hughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)





ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์ Globalization มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กล่าวโดยสรุป นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้

การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้เรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where,

การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล (Teleconference) อี-เลินนิ่ง (e-Learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น (e-Education) เป็นต้น















แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
อาคารสถานที่ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
คณะครุศาสตร์มีอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมตลอดจนแห่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้
คณะครุศาสตร์มีอาคารทั้งหมด 3 หลัง คือ
อาคาร 9 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะครุศาสตร์ ห้องพักอาจารย์ และที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู ส่วนชั้นที่ 3 ของอาคาร 9 เป็นห้องเรียนจำนวน 8 ห้อง อาคาร 8 เป็นห้องพักอาจารย์บางส่วนของคณะครุศาสตร์และอาคารพลศึกษา
คณะฯ ได้จัดสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกห้องพักอาจารย์ตามความจำเป็นอย่างครบถ้วน สำหรับห้องเรียนและห้องปฏิบัติการต่าง ๆ คณะฯ ได้จัดให้มีวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นครบถ้วน เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ โทรทัศน์ พัดลม ฯลฯ ในการใช้ห้องเรียนส่วนใหญ่ดำเนินไปตามแผนการใช้ของมหาวิทยาลัย
ส่วนห้องประชุมและห้องปฏิบัติการต่าง ๆ คณะฯ จะพิจารณาอนุมัติการใช้งานตามความเหมาะสม ในเรื่องของการดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์และอาคารสถานที่ ได้จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์และจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาและให้บริการ
ด้านการจัดภูมิทัศน์ คณะฯ สนับสนุนให้มีการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ ร่มรื่น รวมทั้งการจัดที่นั่งพักผ่อนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอย่างเพียงพอ โดยให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาความสะอาดและมีการปรับปรุงพัฒนาอยางต่อเนื่อง




แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้พื้นฐานในคณะครุศาสตร์ มีดังนี้
• ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร 9
• ห้องปฏิบัติการหลักสูตรและการสอน ชั้น 2 อาคาร 9
• ห้องสมุดคณะครุศาสตร์และศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู ชั้น 2 อาคาร 9
• ห้องปฏิบัติการการศึกษาปฐมวัย ชั้น 3 อาคาร 9
• ห้องปฏิบัติการการประถมศึกษา ชั้น 3 อาคาร 9
• ห้องสื่อการเรียนการสอน ชั้น 2 อาคาร 9
• ห้องปฏิบัติการให้คำปรึกษา ชั้น 2 อาคาร 9
• ห้องประชุมคณะครุศาสตร์ ชั้น 2 อาคาร 9
• ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ ชั้น 1 อาคาร 8
• ห้องบันทึกเสียง ชั้น 1 อาคาร 8
• ห้องตัดต่อภาพ ชั้น 1 อาคาร 8
• ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ชั้น 2 อาคาร 9
• โรงยิม อาคารพลศึกษา
• โรงเรียนเครือข่ายการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
• หน่วยงานและสถานประกอบการเพื่อฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา







เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในทางการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นกระบวนการที่เน้นการวิเคราะห์วิจัยสภาพปัญหา การวางแผน และประสานการดำเนินงาน การออกแบบและการผลิตสื่อทางการศึกษา การกำหนดมาตรฐานทางการดำเนินงาน การออกแบบและการผลิตสื่อทางการศึกษา การกำหนดมาตรฐานทางการดำเนินงาน การปฏิบัติการใช้ การประเมินผลและแก้ไขปัญหา ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรผู้ผลิตและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะครอบคลุมสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต โทรสาร โทรศัพท์ และโทรคมนาคมอื่น ๆ รวมทั้งแหล่งการเรียนรู้ทั่วไป เช่น หอสมุด พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ที่จัดเพื่อการใช้งาน โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มตามศักยภาพ ปราศจากข้อจำกัดด้านโอกาส ถิ่นที่อยู่ ฐานทางเศรษฐกิจและสังคม
คุณภาพการจัดการศึกษาของไทย ยังมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะระหว่างเขตเมืองกับเขตชนบท โรงเรียนบางแห่งที่ได้รับความยินยอมและยอมรับเพื่อเป็นหลักประกันว่าการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถตอบสนองความต้องการ ในการพัฒนาศักยภาพของคนให้สอดคล้องกับลักษณะของสังคมในปัจจุบันและอนาคต ประกอบกับปัจจุบัน นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้เข้ามาบทบาทสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเรียนการสอน แต่เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปฏิบัติงานในการจัดการเกี่ยวกับงานโสตทัศนศึกษา ซึ่งการจัดการก็มีหลายรูปแบบ เพื่อช่วยเหลือการเรียนการสอนในโรงเรียนแต่ละแห่ง ซึ่งรูปแบบต่าง ๆ ก็จะเป็นผลมาจาก ฐานะทางเศรษฐกิจและทัศนคติของชุมชนแต่ละแห่งโดยอาศัยหลักการประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาช่วยในการเรียนการสอนและวิธีจัดระบบในการกระบวนการดำเนินการด้านต่าง ๆ จะมีคณะผู้ร่วมงานที่มีความรู้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา มาช่วยดำเนินงานให้เกิดผลเต็มที่ การจัดการงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของแต่ละโรงเรียน จะเลือกจัดวิธีใดขึ้นอยู่กับภูมิหลังที่เหมาะสมของแต่ละแห่ง เมื่อพัฒนาถึงขั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนวิธีการให้สะดวกและดีขึ้น เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาอย่างจริงจัง (กรมสามัญศึกษา. 2540 : 8)
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้น มุ่งจัดเนื้อหาวิชาให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี โดยพยายามพัฒนาเนื้อหาวิชาในหลักสูตรให้เด็กได้ฝึกทักษะ เพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณค่า ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมด้วย ควรมีการจัดการศึกษาด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญในการจัดการศึกษาทั่วไป ขอบเขตของเนื้อหาดังกล่าวควรประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสถาบันต่าง ๆ ความเข้าใจ ความสามารถต่าง ๆ ที่จะเป็นพลังผลักดันให้บุคลากรเป็นผู้มีความสามารถ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2539 : 88)
ในปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรของรัฐจำนวนมากที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แต่ในภาพรวมยังแสดงให้เห็นถึงความซ้ำซ้อนและปัญหาในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการจัดระบบงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งการจัดระบบงานสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษามีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์และสามารถเป็นไปตามความคาดหวังของสังคม

คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แนวคิด
คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในวงการศึกษาตั้งแต่ประมาณปี ค . ศ .1950 โดยมีโครงการที่สำคัญได้แก่ โครงการเพลโตซึ่งเริ่มเมื่อปี ค . ศ .1960 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ ใช้เพื่อทบทวนบทเรียน ใช้เป็นเครื่องมือและใช้เป็นเครื่องฝึก ได้มีการให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้หลายความหมายแต่ที่นิยมใช้กันในประเทศไทยใช้คำว่า CAI (Computer-Assisted Instruction) และ CBT (Computer Based Teaching หรือ Computer Based Training) ส่วนคำว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นเป็นการนำเนื้อหาวิชาและลำดับวิธีการสอนมาบันทึกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ โดยให้เครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้เรียนได้โต้ตอบกัน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้เริ่มพัฒนาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มที่โครงการเพลโต โครงการ TICCIT ส่วนในประเทศไทย ได้แก่ โครงการ VITAL/Thai ซึ่งโครงการต่าง ๆ นั้น ก็เพื่อใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาแทนบทเรียนสำเร็จ โดยเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์และบทเรียนที่บรรจุไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์และรูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบต่าง ๆ ที่มีโครงสร้างและลักษณะของบทเรียนแตกต่างกันไปตามระเบียบวิธี (Methodology) ของแต่ละบทเรียน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกและปฏิบัติ แบบศึกษาทบทวน แบบเกมการสอน แบบสถานการณ์จำลอง เป็นต้น
ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI-Computer Assisted Instruction) เป็นศัพท์เดิมที่เคยนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา มีความหมายว่า การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย แต่ปัจจุบันใช้ว่า CBT (Computer Based Teaching หรือ Computer Based Training) มากกว่า คำใหม่นี้ ถ้าแปลตามตัวก็คงหมายถึง การสอนหรือการฝึกอบรมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกาก็ยังมีคำที่นิยมใช้กันอีกคำหนึ่ง คือ CMI (Computer Managed Instruction) หมายถึง การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการให้ ส่วนในยุโรปมักจะใช้คำแตกต่างจากในสหรัฐอเมริกา คำที่นิยมกันมากในยุโรปในปัจจุบัน คือ CBE (Computer Based Education) หมายถึง การศึกษาโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก นอกจากนี้ ก็มีอีก 2 คำที่แพร่หลายเช่นกัน คือ CAL (Computer Accessed Learning) และ CML (Computer Managed Learning) นั่นคือเปลี่ยนตัวสุดท้ายจาก การสอน (Instruction) เป็นการเรียน (Learning) สำหรับในประเทศไทยนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องนิยมใช้คำว่า CAI มากกว่า CBT หรือคำอื่น ๆ ส่วนในภาษาไทยนั้นใช้แตกต่างกันไป เช่น ใช้คำว่าบทเรียน CAI ตรงตัว บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนช่วยสอนด้วยคอมพิวเตอร์ บทเรียนสำเร็จรูปด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์หรืออื่น ๆ แต่ในที่นี้จะใช้คำว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นหลัก
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ 1) สามารถเลียนแบบการสอนได้และ 2) มีสมรรถภาพในการรวบรวมสารสนเทศและข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของ ปฏิสัมพันธ์การสอนได้ คุณลักษณะทั้ง 2 ประการนี้ อาจเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าเราสามารถพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้เป็นเทคโนโลยีการสอนได้ แต่ความบกพร่องของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันก็คือโปรแกรมบทเรียนหรือคอร์สแวร์ (Courseware) หรือโปรแกรมที่นักพัฒนาโปรแกรมผลิตออกสู่ท้องตลาด ซึ่งบทเรียนทั้งหลายเหล่านั้น ยังไม่ได้ผ่านการทดสอบหรือทดลองจริงในห้องเรียนมาก่อน

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การอภิปรายสื่อมวลชนกับการศึกษาสรุปประเด็นที่อภิปราย

1. สื่อมวลชน หมายถึงอะไร
- หมายถึงสื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆไปสู่ประชาชนหรือมวลชนประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดูหรือการอ่านประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น
2. สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง
- มีหน้าที่คัดกรองข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในสังคมและจัดลำดับความสำคัญของข่าวสารนำเสนอต่อประชนผู้รับสาร
3. สื่อมวลชนที่อิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร
- โทรทัศน์เพราะว่าโทรทัศน์เป็นสื่อที่นิยมกันมากเป็นสื่อที่นิยมกันมากเป็นสื่อที่ทันสมัยสามารถได้รับข่าวสารได้อย่างละเอียดทั้งภาพและเสียงและเป็นสื่อที่สร้างความบันเทิงให้กับสังคมและทราบความเป็นไปของเหตุการณ์บ้านเมืองหรือให้ความรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ได้
4. มีความคิดเห็นอย่างไร? กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองค
- สื่อมวลชน เป็นผู้เสนอข่าว เสนอข้อมูลต่างเกี่ยวกับบ้านเมือง ความเคลื่อนไหวต่างๆ ของสังคมหรือท้องถิ่นนั้นๆ ให้กับบุคคล ประชาชนรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้น ข้อมูลหรือข่าวสารที่เสนอออกไปจะมีผลต่อบุคคล ประชาชน ทั้งทางบวกและทางลบหรือเปรียบเสมือนดาบสองคม เช่นทางดีหรือทางบวก สื่อมวลชนเป็นผู้เสนอข่าว หรือข้อมูลที่ช่วยชาวบ้านที่ได้รับความลำบาก เดือดร้อนเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน องค์กรเอกชนหรือภาครัฐ ส่วนข้อเสียหรือทางลบสื่อมวลชนจะเสนอข่าวหรือสิ่งบันเทิงให้กับประชาชน ประชาชนก็จะเอาไปเป็นแบบอย่าง ล้อกเลียนแบบ เช่น เสนอภาพ การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือสื่ออนาจาร ลามก เป็นต้น
5. มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร
- คิดว่าการจัดเรตติ้งทางทีวีเป็นสิ่งที่ดีเพราะเวลาที่เด็กดูทีวีเราก็จะแนะนำว่ารายการนี้เด็กควรดูหรือไม่ควรดูอย่างบางรายการอาจจะบอกว่าไม่ควรให้เด็กชมตามลำพังเพราะว่าอาจมีคำที่ไม่สุภาพได้อย่างเช่นรายการที่เป็นเกมโชว์ รายการตลก
6. SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร
ผลดี คือ
1.ประหยัดค่าใช้จ่าย
2.ประหยัดเวลาในการติดต่อสื่อสาร
3.บอกความรู้สึกได้ผ่าน SMS
4.การสื่อสารรวดเร็วขึ้น
ผลเสีย คือ
1.สูญเสียพลังงานไฟฟ้า
2 บางครั้งSMSมีคำที่ไม่สุภาพและก็ห้ามปรามไม่ได้
7. การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการสอนยอย่างไรบ้าง
- ประโยชน์การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษาการเรียนการสอนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเพิ่มกว่าเดิมโดยเป็นการศึกษากับสื่อมวลชนในแบบต่างๆเช่นจากวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ใหม่ๆในด้านต่างเช่นความเจริญ เทคโนโลยีการเมืองการปกครองหรือข้อมูลต่างที่ทำให้เกิดความรู้ เป็นต้น
8. จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาอย่างไร
- แนวทางการนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา การให้เด็กนักเรียนค้นคว้าจากทางโทรทัศน์
เช่น ทีวีจะมีรายการที่เป็นประโยชน์ที่ทำให้เกิดความรู้แล้วนมาเสนอหน้าชั้นเรียน
การเชิญสื่อมวลชนมาให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับสื่อมวลชนหรือแนะแนวทางการประกอบอาชีพของสื่อมวลชน